สรรพากร เตรียมจัด Focus group เชิญผู้เกี่ยวข้องและผู้ได้รับผลกระทบจากการเรียกเก็บภาษีคนไทยที่มีรายได้ในต่างประเทศและนำรายได้นั้นกลับเข้าประเทศเพื่อกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โดยจะเริ่มจัดเก็ยในปีภาษี 2567 ยืนยันไม่เป็นการเก็บซ้ำซ้อน แต่เป็นไปตามกติกาการเก็บภาษีโลกที่ไทยเข้าเป็นสมาชิกของ Global forum
การจัดเก็บภาษีคนไทยที่มีรายได้ในต่างประเทศและนำรายได้นั้นเข้ามาในประเทศที่ถูหกตั้งคำถามว่าเป็นการเก็บาษีซ้ำซ้อนหรือไม่ เกี่ยวกับเรื่องนี้นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร อธิบายว่า หลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีของไทยมีอยู่ 2 หลักคือตามถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 180 วัน และตามหลักรับรู้รายได้ทั่วโลก แต่เมื่อมีการใช้พระราชกำหนดจัดเก็บข้อมูล ทำให้บริบทในการจัดเก็บภาษีตามหลักการทั้งสองข้อเปลี่ยนไป โดยเฉพาะกรณีคนไทยไปมีรายได้ในต่างประเทศที่ปัจจุบันมีการรับรู้ง่ายขึ้นและมากขึ้น ทำให้จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนบริบทในการจัดเก็บภาษี ตามพัฒนาการกติกาการเก็บภาษีโลกที่ไทยเข้าเป็นสมาชิกของ Global forum
"ยืนยันว่าจะไม่มีการเก็บภาษีซ้ำซ้อน เนื่องจากประเทศไทยมีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับหลายหลายประเทศ รวมทั้งประเทศคู่ค้าสำคัญ หากเสียภาษีในต่างประเทศแล้ว ก็จะไม่มีการเก็บภาษีซ้ำซ้อนในไทยอีก สำหรับอัตราการจัดเก็บภาษีต้องไปดูคู่สัญญาภาษีซ้อนที่ทำกับแต่ละประเทศซึ่งจะมีอัตราแตกต่างกัน โดยในระยะสั้นจะดำเนินการในลักษณะออกประกาศ แต่ในระยะยาวจะเป็นการออกประมวลรัษฎากรที่ชัดเจน ยืนยันว่าการดำเนินการทั้งหมดเพื่อการจัดเก็บภาษีที่ถูกต้องเป็นธรรมสำหรับคนไทยที่ไม่ว่าจะลงทุนในประเทศหรือต่างประเทศแล้วมีรายได้ในลักษณะเดียวกัน ก็จะต้องเสียภาษีคล้ายๆ กัน โดยจะเริ่มจัดเก็บในปีภาษี 2567 และยื่นเสียภาษีในปี 2568 " อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวและว่า หลังจากมีการออกประกาศไปเมื่อ 15 กันยายนที่ผ่านมา จะต้องออกหลักเกณฑ์ต่างๆ เพิ่มขึ้นอีก โดยจะเชิญผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียกับเรื่องนี้มาให้ข้อมูลในลักษณะ Focus group เพื่อให้การดำเนินการในช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น ถึงตอนนี้ยังไม่มีข้อกำหนดเรื่องการประมาณรายได้ที่ต้องเสียภาษี ยังอยู่ในขั้นตอนเรื่องหลักการและวิธีการ
ข้อมูลและภาพประกอบจากเว็บไซต์และเพจเฟสบุ๊คกรมสรรพากร https://www.facebook.com/TheRevenueDepartment/