นักวชาการ TDRI แนะใช้ AI เข้ามาช่วนคัดกรองผู้สูงอายุที่มีฐานะเพื่อลดภาระงบประมาณในการแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ระบุหากหาวิธีคัดกรองที่ดีไม่ได้ควรแจกแบบถ้วนหน้าเพื่อป้องกันการตกหล่นแล้วไปหาวิธีเก็บภาษีเพิ่มแทน
นโยบายแจ้งเบี้ยผู้สูงอายุกำลังถูกพูดถึงมากขึ้นในแง่ของการใช้จ่ายงบประมาณ เนื่องจากสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยทำให้ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อแจกจ่ายให้ทั่วถึง เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ให้ความเห็นว่า จำนวนผู้สูงอายุของไทย จะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านในอนาคต การหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมาเรื่องเบี้ยผู้สูงอายุถูกนำไปใช้เป็นนโยบายหาเสียง เช่น ก้าวไกลจะเพิ่มเบี้ยเป็น 3,000 ต่อเดือน เมื่อเป็นอย่างนี้ทำให้ในอนาคตการเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุจะกลลายเป็นหนึ่งในนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งจะทำให้การใช้จ่ายงบประมาณส่วนนี้เพิ่มมากขึ้นจนเป็นภาระทางการคลังของประเทศมากเกินจำเป็น
การแยกผู้สูงอายุที่มีฐานะดีออกจากผู้ที่ควรได้รับเบี้ยผู้สูงอายุจึงเป็นแนวทางที่น่าสนใจแต่ประเด็นคือเราจะใช้เครื่องมือชนิดไหนมาคัดกรอง เพื่อคัดแยกผู้สูงอายุให้ได้ตามหลักเกณฑที่กำหนด หากรัฐจะใช้นโยบายแจกแบบถ้วนหน้าแน่นอนว่าจะทำให้ไม่มีใครตกหล่น แต่ปัญหาต้องใช้งบประมาณสูงมาก ทำให้มีความเสี่ยงทางการคลังในระยะยาว หากใช้แบบ targeting approach หรือ แบบที่กระทรวงการคลังเสนอ (แจกเฉพาะผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) จะใช้งบประมาณน้อยลงก็จริง แต่ก็จะมีกรณีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งต้องหลุดรอดออกไป ทั้งนี้ หากไม่สามารถแยกแยะได้ เสนอว่า รัฐก็ควรใช้นโยบายดูแลผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า และไปเก็บภาษีจากคนที่มีฐานะแทน
"การใช้แนวทาง targeting approach มีจุดอ่อน คือ เสี่ยงที่ผู้สูงอายุที่ยากจนอาจหลุดออกจากระบบพอสมควร ในขณะที่ผู้สูงอายุที่ร่ำรวยก็อาจจะเล็ดรอดเข้าไปรับการช่วยเหลือจากภาครัฐได้ ถ้ามีวิธีการคัดกรองที่ดีก็ามารถใช้แนวทางนี้ได้ แต่หากไม่มีก็ควรแจกจ่ายแบบถ้วนหน้าแล้วหากวิธีเก็บภาษีจากส่วนอื่นมาทดแทน ซึ่งแนวทางหนึ่งที่น่าจะใช้คัดกรองได้ดีคือ พิจารณาจากการถือครองที่ดิน เงินฝากในธนาคาร การถือครองหุ้น การอยู่ในครัวเรือนที่มีที่ดิน ลูกหลานมีฐานะ เป็นต้น ถ้าปรับลดผู้สูงอายุที่มีฐานะลงได้ จะสามารถลดงบประมาณที่ต้องจ่ายได้ราว 20-40% อย่างไรก็ตามแนวทางนี้ก็ยังมีจุดอ่อน เช่น ผู้สูงอายุที่มีที่ดิน แต่ไม่มีรายได้ ก็จะได้รับผลกระทบจากการไม่ได้รับเบี้ยคนชรา จึงต้องใช้หลายๆแนวทางในการพิจารณาประกอบกัน อาจใช้ AI เข้ามาช่วยคัดกรองซึ่งน่าจะมีความแม่นยำสูงขึ้น” ดร.นณริฏ กล่าว
ภาพประกอบจาก ; https://tdri.or.th/staff/nonarit-bisonyabut/