ภาพรวมการผลิตรถยนต์ จักรยานยนต์ ครึ่งแรกของปี 2566 ยังไปได้ดีเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ ส.อ.ท.แสดงความกัลวลตลาดในประเทศหลังธนาคารเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในอัตราสูง บวกกับการส่งออกสินค้ากลุ่มอื่นลดลงทำให้กระทบรายได้ประชาชนฉุดกำลังซื้อหดตัว จำต้องปรับลดเป้าการผลิตรถยนต์ลงจาก 1,950,000 คัน เหลือ 1,900,000 คัน
วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมด้วยนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมแถลงข่าวเปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนมิถุนายน 2566 ว่าจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนมิถุนายน 2566 มีทั้งสิ้น 145,557 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.78 ขาย 64,440 คัน ลดลงร้อยละ 5.16 ส่งออก 88,826 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.22
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 921,512 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 5.91 รถยนต์นั่ง เดือนมิถุนายน 2566 ผลิตได้ 50,300 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 14.83 ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 มีจำนวน 321,061 คัน เท่ากับร้อยละ 34.84 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 24.96 รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนมิถุนายน 2566 ผลิตได้ 16 คันเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 700 รวมเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 ผลิตได้ 78 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 3,800
รถยนต์บรรทุก เดือนมิถุนายน 2566 ผลิตได้ทั้งหมด 95,241 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 4 และตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 ผลิตได้ทั้งสิ้น 600,373 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 2.09 รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนมิถุนายน 2566 ผลิตได้ทั้งหมด 91,737 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 3.94 และตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 ผลิตได้ทั้งสิ้น 583,867 คัน เท่ากับร้อยละ 63.36 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 1.61 โดยแบ่งเป็น รถกระบะบรรทุก 105,451 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 32.83 รถกระบะดับเบิลแค็บ 385,570 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 5.05 รถกระบะ PPV 92,846 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 33.86 รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน – มากกว่า 10 ตัน เดือนมิถุนายน 2566 ผลิตได้ 3,504 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 5.63 รวมเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 ผลิตได้ 16,506 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 16.50
สำหรับผลิตเพื่อส่งออก เดือนมิถุนายน 2566 ผลิตได้ 84,909 คัน เท่ากับร้อยละ 58.33 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 4.66 ส่วนเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 530,655 คัน เท่ากับร้อยละ 57.59 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 12.09 รถยนต์นั่ง เดือนมิถุนายน 2566 ผลิตเพื่อการส่งออก 23,069 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 12.03 และตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 147,073 คัน เท่ากับร้อยละ 45.81 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 29.42 รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนมิถุนายน 2566 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 61,840 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 2.15 และตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 383,582 คัน เท่ากับร้อยละ 65.70 ของยอดการผลิตรถกระบะ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 6.62 โดยแบ่งเป็น รถกระบะบรรทุก 39,883 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 ร้อยละ 13.65 รถกระบะดับเบิลแค็บ 294,283 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 ร้อยละ 7.40 รถกระบะ PPV 49,416 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 ร้อยละ 24.90
การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ เดือนมิถุนายน 2566 ผลิตได้ 60,648 คัน เท่ากับร้อยละ 41.67 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 2.01 และเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ผลิตได้ 390,857 คัน เท่ากับ ร้อยละ 42.41 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 1.48 รถยนต์นั่ง เดือนมิถุนายน 2566 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 27,231 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 17.30 และตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ผลิตได้ 173,988 คัน เท่ากับร้อยละ 54.19 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.42 รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนมิถุนายน 2566 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 29,897 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 14.48 และตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 ผลิตได้ทั้งสิ้น 200,285 คัน เท่ากับร้อยละ 34.30 ของยอดการผลิตรถกระบะ แต่ลดลงจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 14.28 ซึ่งแบ่งเป็น รถกระบะบรรทุก 65,568 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 ร้อยละ 40.83 รถกระบะดับเบิลแค็บ 91,287 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 ร้อยละ 1.89 รถกระบะ PPV 43,430 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 ร้อยละ 45.75
ด้านการผลิตรถจักรยานยนต์ เดือนมิถุนายน 2566 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 232,431 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 10.29 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 207,166 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 32.34 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 25,265 คัน ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 53.39 ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,306,697 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 4.93 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 1,127,604 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 20.67 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 179,093 คัน ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 42.39
ขณะยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนมิถุนายน 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 64,440 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 1.04 และลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว ร้อยละ 5.16 เพราะการเข้มงวดของสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อจากหนี้ครัวเรือนที่สูงถึงร้อยละ 90.6 ของGDP ประเทศ ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 179,365 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2565 ร้อยละ 2.57 และลดลงจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 2.92 ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 รถยนต์มียอดขาย 406,131 คัน ลดลงจากปี 2565 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 4.95 ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 993,981 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 9.64
การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เดือนมิถุนายน 2566 ส่งออกได้ 88,826 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 2.86 และเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 20.22 เพราะผลิตรถยนต์นั่งและรถ PPV เพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.57 และ 96.51 ตามลำดับ จึงส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกาเหนือ มูลค่าการส่งออก 55,925.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 30.72 เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 3,332.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 6.81 ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 14,525.06 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 5.61 อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 1,851.60 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 32.08
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมิถุนายน 2566 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 75,635.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 18.15 เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 528,816 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 17.61 มีมูลค่าการส่งออก 329,181.46 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 23.45 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 16,441.51 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 22.73 ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 86,318.49 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 17.59 อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 11,408.83 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 12.87 รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 443,350.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 9.26
รถจักรยานยนต์เดือนมิถุนายน 2566 มีจำนวนส่งออก 65,365 คัน (รวม CBU + CKD) เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 13.29 แต่ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 17.54 โดยมีมูลค่า 5,602.49 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 9 ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 270.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 17.83 อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 168.32 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 17.88 รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนมิถุนายน 2566 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ 6,041.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 8.37 เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 427,634 คัน (รวม CBU + CKD) ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 14.72 มีมูลค่า 35,862.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 5.52 ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,518.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 41.85 อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,054.18 ล้านบาท ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ -13.43
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 38,434.56 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 5.96 เดือนมิถุนายน 2566 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่น ๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 81,676.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 17.37 เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 481,784.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 8.99 ปรับเป้าการผลิตรถยนต์ ปี 2566 จาก 1,950,000 คันเป็น 1,900,000 คัน
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยตัวเลขประมาณการการผลิตรถยนต์ของสมาชิกกลุ่มฯ ในปี พ.ศ.2566 (ใหม่) ปรับเป้าผลิตรถยนต์ปี 2566 จาก 1,950,000 คันเป็น 1,900,000 คัน ลดลง 50,000 คัน โดยปรับเป้าเฉพาะผลิตขายในประเทศลดลงจาก 900,000 คันเป็น 850,000 คัน ปัจจัยของการปรับยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลงมาจากสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์จากหนี้ครัวเรือนที่สูงถึงร้อยละ 90.6 ของ GDP การส่งออกสินค้าอื่นๆของประเทศลดลงติดต่อกันหลายเดือน ทำให้หลายอุตสาหกรรมลดกะการทำงานและลดการทำงานล่วงเวลา คนทำงานขาดรายได้ อำนาจซื้อลดลง ดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นรวมทั้งค่าครองชีพสูงขึ้น ผู้มีหนี้และประชาชนต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น จึงระวังการใช้จ่าย ทำให้อำนาจซื้อลดลง ธุรกิจหลายสาขาชะลอตัวลง เช่น วัสดุก่อสร้าง ร้านสะดวกสบาย supermarket ฯลฯ รถยนต์ไฟฟ้ามีส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ที่ใช้น้ำมันมากกว่าร้อยละ 5 โดยรถยนต์ไฟฟ้าเป็นรถยนต์นำเข้า ไม่ได้ผลิตในประเทศ จึงลดเป้าการผลิตเพื่อขายในประเทศลงประมาณร้อยละ 5 ของเป้าเดิม